ประวัติการทำงาน ของ เขมวิช ภังคานนท์

หลังจากที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขมวิช ภังคานนท์ เริ่มทำงานเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ บริษัท โพสต์ พับลิชชิง ก่อนจะใช้เวลาในการทำงานประจำในภาคการเงินการธนาคาร เป็นเวลาเจ็ดปี โดยเริ่มจาก เป็นเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมพนักงานธนาคาร ที่ธนาคารไทยพาณิชย์สำนักงานใหญ่ และเจ้าหน้าที่กฎหมาย (associate counsel) ที่ บริษัท Lehman Brothers กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และ vice president ที่ บริษัท Lehman Brothers กรุงเทพฯ ประเทศไทย[3] [4]

ต่อมาในปี 2547 เขมวิช ภังคานนท์ ได้ตัดสินใจลาออกจากการทำงานประจำ เพื่อมาทำงานด้านดนตรี โดยเป็น ศิลปิน นักแต่งเพลง และโปรดิวเซอร์ โดยมีผลงาน ออกมาในรูปซีดีอยู่ห้าชุด คือ Insomnia Lullabies (2548), cu@dnOfTheWorld (2550), Space Station (2552), Songs for T (2554) และ Ocean of Time (2556) โดยผลงานเพลงในชุด cu@dnOfTheWorld (ซี ยู แอท ดิ เอ็น ออฟ เดอะ เวิลด์) ได้รับรางวัล คม ชัด ลึก อวอร์ด สาขา อัลบั้มยอดเยี่ยม ศิลปินชายเดี่ยวยอดเยี่ยม และ เพลงบรรเลงยอดเยี่ยม [5]

และในขณะเดียวกันกับที่ทำงานดนตรี เขมวิช ภังคานนท์ ก็ได้ทำงานเขียนไปด้วย โดยเริ่มจาก บทความวิชาการด้านกฎหมายการเงินการธนาคาร ตลอดจน งานเขียนวิจารณ์ร่วมสมัยทั้งในแง่ของการเมืองและวัฒนธรรม จนมาถึงงานเขียนในรูปหนังสือคือ “สิ่งที่ตี๋ไม่มีวันลืม โดย ตีตี๋ หมาอ้วน” (2554)[6] และ รวมเรื่องสั้นที่เชื่อมโยงกัน “ทะเลเวลา” (2556) [7]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เขมวิช ภังคานนท์ http://.www.amazon.com/Space-Station-Kem-Kemavit-B... http://www.amazon.com/Insomnia-Lullaby/dp/B002LDBI... http://asiapacificglobal.com/2013/11/crossroads-th... http://asiapacificglobal.com/2014/06/the-thai-mili... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-sty... http://www.naiin.com/product/detail/103521 http://www.nycourts.gov/ATTORNEYS/registration/ind... http://www.komchadluek.net/detail/20111206/116895/... http://en.wikipedia.org/wiki/Indiana_University_of... http://en.wikipedia.org/wiki/Lehman_Brothers